ประเพณี “อุ้มพระดำน้ำ”
เป็นประเพณีที่แปลกประหลาด มีเกิดขึ้นที่ จ.เพชรบูรณ์ เพียงแห่งเดียว นอกจากมีเรื่องราวเชิงอิทธิปาฏิหาริย์เข้าไปผูกพันแล้ว ยังนับเป็น “มรดกทางวัฒนธรรม” ที่แฝงไว้ด้วย “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ซึ่งบรรพบุรุษนำความเชื่อและศรัทธาจากชาวบ้านที่มีต่อพุทธศาสนาและองค์พระพุทธมหาธรรมราชา ให้เกิดการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองจุดกำเนิดของพิธีกรรม “อุ้มพระดำน้ำ” ประเพณีที่มีตำนานความเชื่อเล่าขานสืบทอดมาว่าสมัยเมื่อราว 400 ปี ที่ผ่านมามีชาวเพชรบูรณ์กลุ่มหนึ่ง ได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก และในวันนั้นได้เกิดเหตุการณ์ประหลาดคือ ตั้งแต่เช้ายันบ่ายไม่มีใครจับปลาได้สักตัวเดียว เลยพากันนั่งปรับทุกข์ริมตลิ่ง ที่บริเวณ “วังมะขามแฟบ” อยู่ทางตอนเหนือของตัวเมืองเพชร บูรณ์ จากนั้นสายน้ำที่ไหลเชี่ยวได้หยุดนิ่ง พร้อมกับมีพรายน้ำค่อย ๆ ผุดขึ้นมา และกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ รวมทั้งมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอย ขึ้นมาเหนือน้ำ แสดงอาการดำผุดดำว่ายอย่างน่าอัศจรรย์ ชาวบ้านคนหนึ่งในกลุ่มจึงลงไปอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิจากนั้นในปีต่อมาซึ่งตรงกับ “วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10” พระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย และมีผู้พบอีกครั้งแสดง อาการดำผุดดำว่ายอยู่กลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณเดียวกับที่พบครั้งแรก ชาวบ้านจึงร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐาน ณ วัดไตรภูมิ เป็นครั้งที่ 2 พร้อมร่วมกันถวายนามว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” จากนั้นเป็นต้นมา เจ้าเมืองเพชรบูรณ์สมัยนั้น จะต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ไปประกอบพิธี “อุ้มพระดำน้ำ” เป็นประจำทุกปี ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ณ บริเวณวังมะขามแฟบ สืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ยังมีข้อกำหนดอีกว่า ผู้ที่จะอุ้มพระดำน้ำได้นั้นจะต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ คนเดียวเท่านั้น เพราะมีตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าเมืองสมัย โบราณ จะให้ผู้อื่นกระทำแทนมิได้ ทั้งนี้หลังการประกอบพิธีเชื่อกันว่า องค์พระจะไม่หายไปดำน้ำเอง ฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองจะมีแต่ความสงบสุข
เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลกที่ยิ่งใหญ่อลังการเป็นอย่างมาก
ตอบลบ