6 สิงหาคม 2557

ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ประเพณี อุ้มพระดำน้ำ” 



                เป็นประเพณีที่แปลกประหลาด มีเกิดขึ้นที่ จ.เพชรบูรณ์ เพียงแห่งเดียว นอกจากมีเรื่องราวเชิงอิทธิปาฏิหาริย์เข้าไปผูกพันแล้ว ยังนับเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่แฝงไว้ด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งบรรพบุรุษนำความเชื่อและศรัทธาจากชาวบ้านที่มีต่อพุทธศาสนาและองค์พระพุทธมหาธรรมราชา ให้เกิดการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง
จุดกำเนิดของพิธีกรรม “อุ้มพระดำน้ำ” ประเพณีที่มีตำนานความเชื่อเล่าขานสืบทอดมาว่าสมัยเมื่อราว 400 ปี ที่ผ่านมามีชาวเพชรบูรณ์กลุ่มหนึ่ง ได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก และในวันนั้นได้เกิดเหตุการณ์ประหลาดคือ ตั้งแต่เช้ายันบ่ายไม่มีใครจับปลาได้สักตัวเดียว เลยพากันนั่งปรับทุกข์ริมตลิ่ง ที่บริเวณ “วังมะขามแฟบ” อยู่ทางตอนเหนือของตัวเมืองเพชร บูรณ์ จากนั้นสายน้ำที่ไหลเชี่ยวได้หยุดนิ่ง พร้อมกับมีพรายน้ำค่อย ๆ ผุดขึ้นมา และกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ รวมทั้งมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอย ขึ้นมาเหนือน้ำ แสดงอาการดำผุดดำว่ายอย่างน่าอัศจรรย์ ชาวบ้านคนหนึ่งในกลุ่มจึงลงไปอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิจากนั้นในปีต่อมาซึ่งตรงกับ “วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10” พระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย และมีผู้พบอีกครั้งแสดง อาการดำผุดดำว่ายอยู่กลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณเดียวกับที่พบครั้งแรก ชาวบ้านจึงร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐาน ณ วัดไตรภูมิ เป็นครั้งที่ 2 พร้อมร่วมกันถวายนามว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” จากนั้นเป็นต้นมา เจ้าเมืองเพชรบูรณ์สมัยนั้น จะต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ไปประกอบพิธี “อุ้มพระดำน้ำ” เป็นประจำทุกปี ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ณ บริเวณวังมะขามแฟบ สืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ยังมีข้อกำหนดอีกว่า ผู้ที่จะอุ้มพระดำน้ำได้นั้นจะต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ คนเดียวเท่านั้น เพราะมีตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าเมืองสมัย โบราณ จะให้ผู้อื่นกระทำแทนมิได้ ทั้งนี้หลังการประกอบพิธีเชื่อกันว่า องค์พระจะไม่หายไปดำน้ำเอง ฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองจะมีแต่ความสงบสุข    

                  





ประเพณีท้องถิ่น



ประเพณี เส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง




                    อำเภอหล่มสัก ได้กล่าวถึงประวัติพ่อขุนผาเมือง วีรบุรุษผู้กล้าและผู้เสียสละแห่งแผ่นดินไทย ซึ่งนับว่าเป็นต้นกำเนิดของการจัดงาน “ประเพณีเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง” ซึ่งท่านอดีต ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายเกษม ชัยสิทธิ์ ได้ดำริจัดงานเชิดชูเกียรติพ่อขุนผาเมือง ว่ามีประวัติความเป็นมาดังนี้ เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๘๐๐ ชนเผ่าไทยซึ่งได้กระจัดกระจายกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยภายใต้อำนาจการปกครองของขอม ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอินทวรมันที่ ๒ แห่งกรุงนครธนได้สั่งสม จัดตั้งกองกำลังรี้พลและขุนศึกผู้กล้าหาญออกตั้งเมืองเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อคอยกำลังของชนผ่าไทยมิให้รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นได้ในกลุ่มชนเผ่าไทยที่กระจัดกระจายอยู่ในขณะนั้น กลุ่มของพ่อขุนที่ถ่อยร่นมาจากเวียงไชยปราการ ได้มาโจมตีเมืองนครเดิดและเมืองศรีเทพของขอมแตกแล้วตั้งหลักแหล่งเป็นเมืองขึ้นใกล้เคียงกับนครเดิดเรียกว่า “เมืองราด”(อำเภอหล่มสักในปัจจุบัน) 
 
                   ต่อมาได้นัดหมายกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง เข้าตีเมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมที่เข้มแข็งเป็นผลสำเร็จแล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรไทยด้วยเหตุนี้ ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียงได้รำลึกถึงพระมาหากรุณาธิคุณ ความกล้า ความเด็ดเดี่ยว ความเสียสละ ของพ่อขุนผาเมืองตลอดมา และในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ชาวเพชรบูรณ์ จึงได้ร่วมใจกันก่อสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญแลเดียรติคุณความดีของพ่อขุนผาเมืองไว้ ณ บริเวณสามแยกระหว่างทางไปหล่มสัก พิษณุโลกและขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “สามแยกพ่อขุน” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับให้ชาวเพชรบูรณ์เคารพสักการะ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นเยี่ยงอย่างอันดีแก่ชาวไทยสืบไป คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๘ โดยมอบให้กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้อัญเชิญพระบรมรูปพ่อขุนผาเมืองมาประดิษฐานบนพระแท่นเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗ และเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จไปทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ พ่อขุนผาเมือง เพื่อเป็นศูนย์รวมพลังจิตใจของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ และชาวไทยทั้งประเทศ

                    เส็งกลอง  เป็นภาษาท้องถิ่นเหนือชั้นอยู่ทั่วไปในอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า หมายถึง เส็งกลองที่ถูกตีจนเกิดเสียงดังก้อง ถึงระดับอึกครึกโครม เส็ง น้าจะเพี้ยนมาจาก เสียง หรืออาจจะเป็นต้นเสียงเดิมเป็นเส็ง แปลเป็นเสียงในภายหลังก็เป็นได้ การเส็งกลองนิยมทำกันมาในอำเภอหล่มสัก หลายหมู่บ้าน เมื่อมีงานเทศกาลเข้าพรรษา การตีกลองเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่งที่นำมาเป็นการละเล่น แต่เดิมการเส็งกลองนั้นเป็นเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านการทำกลอง กลองที่ดีต้องมีเสียงดัง จึงมีการแข่งขันการตีกลองกันว่าช่างกลองคนใดผลิตกลองดี มีเสียงดังก้อง กล่าวกันว่าเป็นการแสดงพละกำลังของคนหนุ่ม แต่เดิมการเส็งกลองนิยมจัดในงานบุญบั้งไฟ เพื่อเชิญเทวดามนุษย์และภูตผีมาร่วมงานบุญบั้งไฟขอฟ้าขอฝน อีกส่วนหนึ่งก็สืบสานการช่างฝีมือแต่งอย่างเดิม คือ การแข่งขันเพื่อแสดงศักยภาพในการทำกลอง ว่าใครจะทำให้มีเสียงดงได้มากว่ากัน โดยมีการประกวดกันในระดับหมู่บ้าน ในอำเภอหล่มสัก ระดับเสียงกลองจะมีทั้งทุ้มกลาง และแหลม ครบถ้วน จึงจะนับว่าเป็นกลองเสียงดีและเป็นผู้ชนะ 

                    ปัจจุบัน มีการเส็งกลองในงานไหว้พ่อขุนผาเมือง อำเภอหล่มสัก ในงานเทศกาลไหว้พ่อขุนผาเมือง ซึ่งทำติดต่อกันมาหลายปี งานพ่อขุนผาเมืองจะมีตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม- ๒ มกราคม เป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่พร้อมกัน นอกจากการเส็งกลองแล้วยังมีการล่องโคมไฟในงานนี้ด้วย การล่องโคมไฟนั้นมีแต่เดิมนิยมล่องกันในวันออกพรรษา มีความเชื่อว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วจะเสด็จลงมาเทศนาโปรดมนุษย์โลกและเมืองบาดาลอันเป็นที่พอใจแก่พญานาคเป็นอย่างยิ่ง จึงมีการถวายบั้งไฟพญานาคเป็นพุทธบูชาด้วย ชาวโลกจึงจัดโคมไฟถวายสักการะร่วมกัน ถือเป็นการบูชาเทพขอขมาพรแม่คงคา และส่งเคราะห์ร้ายทิ้งไปด้วยการจัดงานเส็งกลอง ล่องโคมไฟไหว้พ่อขุนผาเมือง จัดเป็นสองส่วน ส่วนแรกตอนเช้าประมาณ ๙.๐๐ น. จะมีกิจกรรมบวงสรวงพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด (อำเภอหล่มสักปัจจุบัน) ด้วยการตีกลองสะบัดไชย กลองใหญ่ กลองยาว และมีการแข่งขันเส็งกลอง นิทรรศการเส็งกลอง ล่องโคมไฟ มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ในตอนค่ำจะมีการพาข้าวหย่องหรือพาข้าวแลง แต่เดิมพาข้าวหย่องนั้นเป็นการเลี้ยงผู้มาร่วมงาน
                   แต่ปัจจุบันมีการจัดพาข้าวหย่องหารายได้เข้ามูลนิธิพ่อขุนผาเมืองแทนในตอนกลางคืนจะมีการประกวดเส็งกลองและล่องโคมไฟคือปล่อยโคมให้ลอยล่องท่องท้องฟ้า มองเห็นแสงไฟทอดเป็นสายสว่างพราย สวยงามมาก ในวันสิ้นปีจะมีการประกวดธิดาพ่อขุนผาเมืองด้วย บางปีจะมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ประกวดการแสดงละครพ่อขุนผาเมืองด้วย บางปีจะมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ประกวดการแสดงละครพ่อขุนผาเมืองเป็นการประเทืองปัญญาพร้อมและประเทืองอารมณ์ไปพร้อมกัน การเส็งกลองหรือการตีกลองเป็นประเพณีของชาวอำเภอหล่มสักที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมายาวนานนับร้อยปีในช่วงแรกการเส็งกลองมีวัตถุประสงค์สำคัญเพียงสองประการ คือ แข่งขันหรือประกวดฝีมือช่างทำกลอง ในการขึ้นหน้ากลองได้ดี ตีได้ดังกว่าใครถือเป็นวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ แข่งขันการตีกลองให้เกิดเสียงดังในหมู่ชายหนุ่มของหมู่บ้าน อวดกำลังแขนอันเข็งแรง ใครตีได้ดังกว่าคนนั้นเป็นผู้ชนะ ถือเป็นวัตถุประสงค์เชิงสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาเป็นภูมิปัญญาอันแหลมคมของชาวบ้านการเส็งกลองนิยมทำกันมาในตำบลบ้านติ้ว บ้านหวายและตำบลใกล้เคียงใน อำเภอหล่มสัก
                    ต่อมาเมื่อปี ๒๕๔๐ นายเกษม ชัยสิทธิ์ สมาชิกวุฒิสภาซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ตระหนักในความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้านที่สมควรอนุรักษ์สืบทอดให้แพร่หลาย จึงได้ดำริรื้อฟื้นการเส็งกลองขึ้นมาเป็นประเพณี โดยผนวกเรื่องการเล่นโคมไฟไว้ในงานประเพณีนี้ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสักการะพ่อขุนผาเมือง ผู้สร้างเมืองเพชรบูรณ์ ให้ชื่องานว่า “ประเพณีเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง” โดยกำหนดจัดงานในช่วงส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในแต่ละประเพณีนั้นมีเรื่องราว รายละเอียด ควรบันทึกไว้หลายประการ

                    นายบุญติ่ง อุ่นแก้ว อดีตผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหล่มสัก ได้กล่าวว่าประเพณีเส็งกลองเป็นประเพณีของชาวอำเภอหล่มสักมาเป็นเวลาช้านาน คำว่า เส็งกลอง เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวอำเภอหล่มสัก หมายถึง การแข่งขันตีกลองว่าใครจะมีเสียงดังกว่ากัน การเส็งกลองเป็นประเพณีที่ทำกันในเทศกาลเข้าพรรษา ในช่วงวันสารทไทย ภาษาท้องถิ่นของอำเภอหล่มสักนิยมเรียกว่า วันบุญข้าวสาด ซึ่งตรงกันวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ หลังจากวันเข้าพรรษาแล้วประมาณ ๒ เดือน กลองที่นำมาเส็ง(แข่งขัน) มี ๒ ชนิด คือ กลองลองหน้า และกลองยาว ส่วนใหญ่จะนิยมกลองยาว ไม้ที่นิยมนำมาทำกลอง คือ ไม้ประดู่ เพราะทำแล้วคงทนถาวรรวมทั้งระบบเสียงก็มีการเปลี่ยนแปลงน้อย ส่วนไม้อื่น ๆ เช่นไม้ขนุนและไม้หาดก็มีบ้าง ในเรื่องคุณภาพนั้นสู่ไม้ประดู่ไม่ได้ไม่นิยมนำไม้ที่โค่นไม่ ๆ มาทำกลอง เมื่อสำรวจว่าเป็นไม้ที่ตายแล้วหรือถูกโค่นมาแล้วจะต้องขนาดพอเหมะ คือ ไม่โตเกินไปจะเสียเวลาในการทำหรือเล็กเกินไปไม่ได้ขนาดก็จะเสียเวลาทำเหมือนกัน คือทำกลองแล้วกลองขาดมาตรฐาน หนังหน้ากลองที่หุ้มจะใช้หนังวัวตัวเมียที่ผ่านการมีลูกแล้วประมาณ ๑ ศอก ส่วนค้อนที่ใช้จะทำมาจากไม้ข่อยหรือไม้หม่อน ส่วนที่ใช้ตีจะนำตะกั่วมาหุ้มรอบ เพื่อรักษาหน้ากลองและค้อนมีน้ำหนักดีจะตีได้ดัง ประเพณีนี้มีการเว้นช่วงไประยะหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นายเกษม ชัยสิทธิ์ ซึ่งเป็นชาวหล่มสักโดยกำเนิดได้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงมีแนวคิดรื้อฟื้นประเพณีเส็งกลองขึ้นมาใหม่ มีการปรับปรุงรูปแบบให้มีมาตรฐาน พัฒนาจากงานระดับท้องถิ่นเป็นงานระดับชาติ และจัดเป็นประจำทุกปีระหว่างปลายเดือนธันวาคมและต้นเดือน มกราคมของทุกปี ที่อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีงานสมโภชอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ซึ่งเรียกเฉพาะว่า “เส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง”

                    นายบุญโฮม คำหนาหนัก ภูมิปัญญาชาวบ้าน กล่าวว่าประเพณีการล่องโคมไฟเป็นการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แบะเทวดา ซึ่งคนสมัยโบราณมีความเชื่อว่าคนเราเกิดจากธรรมชาติและเทวดาเป็นผู้สร้างมนุษย์ ในงานสำคัญงานเทศกาลจึงมีการล่องโคมดไฟเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นิยมล่องในวันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันลอยกระทง หรือวนบุญมหาชาติ เป็นต้น ลักษณะโคมไฟลอยน้ำ จะนำต้นกล้วย ๓-๘ ต้น มาตัดให้ยาวเท่ากันทำเป็นแพ บนแพจะเป็นรูปปราสาท รูปพญานาค เรือสำเภา และมีชั้นให้วางโคมไฟที่ทำจากตะเกียงไม้ไผ่ หรือกระบอกน้ำมันหุ้มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ และมีธูปเทียนอย่างละ ๓ ดอก จุดเพื่อบูชาพระแม่คงคาแล้วล่องตามน้ำไป ลักษณะโคมไฟหรือโคมลม ที่ลอยขึ้นไปในอากาศทำจากกระดาษบางสีต่าง ๆ จำนวน ๖๐ –๘๐ แผ่น ต่อเป็นทรงกลม ทรงรี และรูปเหลี่ยมต่าง ๆ มีปากรับลมคาร์บอไดออกไซด์จากเตาความร้อน ส่วนการประกวดโคมลมนั้นจะดูที่ความสูงและความนานในการลอยอยู่ในอากาศ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก คณะกรรมการจัดงานจึงกำหนดให้มีการประกวดเส็งกลอง ล่องโคมไฟขึ้น โดยให้แต่ละตำบลในเขตอำเภอหล่มสักส่งเข้าแข่งขันการเส็งกลองประเภทละ ๒ อย่าง คือ กลองยาว กลองคู่ และโคมไฟ กำหนดแข่งขันในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ของทุกปี

                    ประเพณีเส็งกลอง เป็นวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก ซึ่งนับว่าจะสูญเสียหายเมื่อมีการรื้อฟื้นประเพณีเส็งกลองขึ้นมาจัดเป็นประเพณี จึงมีการปรับรูปแบบให้มาตรฐาน พัฒนาจากงานระดับท้องถิ่นให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ มีกิจกรรมหลากหลายขึ้นรวมทั้งมีการส่องโคมไฟประกอบด้วยโดยให้มีส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน ตลอดจนลูกเสือชาวบ้านร่วมกันดำเนินการอย่างยิ่งใหญ่และจัดเป็นประจำทุกปีระหว่างปลายเดือนธันวาคมและต้นเดือนมกราคมของทุกปี โดยได้จัดขึ้นที่อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในงานสมโภชน์อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ซึ่งเรียกว่างาน “เส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง” ซึ่งถือกำหนดให้เป็นงานประจำทุกปีของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์

5 สิงหาคม 2557

เพลงรัก




ประเพณี ปีใหม่ม้ง

               ปีใหม่ม้ง


               
                    ที่หมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งประเพณีปีใหม่ของพวกเขาตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะเวลาระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ซึ่งในวันปีใหม่นี้ของชาวม้งจัดเป็นงานประเพณีที่ชาวม้งรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจากจะเป็นการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติมีประเพณีขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เป็นวันที่หนุ่มๆสาวๆในหมู่บ้านจะได้เลือกคู่ มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีและการละเล่นต่างๆ เช่น ลูกข่าง ลูกช่วง และยังมีการแข่งขันล้อเลื่อนไม้ชิงแชมป์ประเทศไทยซึ่งเป็นกีฬาที่ท้าทายน่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่นอกการละเล่นที่สร้างความสนุกสนานแล้วชาวม้งก็ไม่ลืมที่จะทำพิธีกรรมต้อนรับปีใหม่ซึ่งจัดเป็นพิธีกรรมที่ชาวม้งให้ความสำคัญกันมากโดยมี 4 อย่างดังนี้


                    วันดาหรือ แรม 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวม้งจะมีการเตรียมต้อนรับปีใหม่โดยทุกบ้านจะทำความสะอาดบ้านโดยใช้ใบไผ่กวาดบ้านเพื่อเอาสิ่งไม่ดีไปกับปีเก่า และจะมีพิธีเรียกขวัญโดยนำไก่ต้มสุก 1 คู่ มาทำพิธีบนแท่นบูชา โดยระหว่างงานปีใหม่นี้จะจุดธูปหรือตะเกียงไว้กลางบ้านตลอด แต่ละแซ่จะสอนสิ่งดีๆให้กับลูกหลาน ระหว่างที่สอนจะนำเม็ดข้าวโพดใส่ในกระด้งแล้วโยกไปมา ทุกวันของวันปีใหม่จะมีการจัดเลี้ยง แต่วันดาจะเป็นวันที่ดื่มเหล้ากันมากที่สุด กลางคืนของวันดานี้ทุกคนจะเฝ้ารอเสียงสัตว์ร้อง เพราะเสียงสัตว์ร้องเสียงแรกจะถือเป็นเวลาที่เริ่มต้นของวันปีใหม่ ถ้าเป็นเสียงไก่ร้องจะถือว่าดีที่สุด ทันทีที่ได้ยินเสียงสัตว์ร้องเสียงแรก ผู้ชายของทุกบ้านจะยิงปืนต้อนรับปีใหม่ และในเวลา 01.00 น. จะเทภาชนะที่บรรจุน้ำภายในบ้านทิ้งและตวงน้ำใส่ใหม่ ผู้หญิงจะเริ่มตำข้าวหุงข้าวเพื่อเตรียมเลี้ยงงานปีใหม่


                    ปัจจุบันชาวม้งได้เลื่อนการจัดปีใหม่ม้งไม่มีวันที่แน่นอน บางปีจัดวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 บางปีจัดวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 หรือบางปีจัดตรงกับปีใหม่สากลซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคม แต่ละปีจะจัดไม่เหมือนกันเพราะวิถีชีวิตและการดำรงชีพเริ่มแตกต่างไปจากเดิม



                    วันขึ้นปีใหม่ (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ) ในวันนี้จะมีการละเล่นในหมู่บ้าน เช่น การเล่นลูกข่าง ซึ่งจะแข่งขันกัน ใครตีได้แม่นหรือลูกข่างหมุนได้นานก็จะเป็นฮีโร่ของงาน นอกจากนี้วันนี้จะเป็นวันที่หนุ่มสาวจะเลือกคู่กันโดยใช้วิธีโยนลูกช่วง โดยหนุ่มๆสาวๆก็จะแต่งกายด้วยชุดสวยงาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายทำลูกช่วงซึ่งทำจากผ้าเป็นลูกกลมๆและวานให้เพื่อนหญิงหรือจะเป็นหญิงที่แต่งงานแล้วเป็นผู้นำลูกช่วงของตนไปมอบให้กับชายหนุ่มที่ตนพึงพอใจ และหญิงสาวที่ทำหน้าที่เป็นแม่สื่อนี้จะบอกกับชายหนุ่มว่าลูกช่วงนั้นเป็นของหญิงสาวคนใดเพื่อที่ชายหนุ่มจะได้นำลูกช่วงนี้ไปโยนหรือขว้างเล่นกับหญิงสาวผู้เป็นเจ้าของลูกช่วงต่อไป หรือหากผู้ชายหมายตาหญิงสาวคนใดไว้ก็จะไปขอโยนลูกช่วงด้วย ถ้าฝ่ายหญิงไม่พอใจก็จะไม่โยนด้วย ระหว่างที่ชายหนุ่มหญิงสาวโยนลูกช่วงก็จะพูดจาจีบกันในเวลานี้ ในส่วนใหญ่แล้วคู่โยนลูกช่วงจะมีการสู่ขอแต่งงานกันหลังงานปีใหม่ (ตามประเพณีเดิมแล้วถ้าผู้ชายพอใจก็จะฉุดหญิงสาวไปด้วยเลยแล้วค่อยมาทำการสู้ขอในภายหลัง) และวันนี้ในแต่หลังคาเรือนก็จะจัดเลี้ยงแขกที่เข้าไปเยี่ยมในบ้านซึ่งจะมีการตั้งวงร่ำสุรา ตามธรรมเนียมของชาวม้งแล้วจะมีการต้มเหล้าข้าวโพดเตรียมไว้สำหรับฉลองเทศกาลปีใหม่นี้ ใครที่มีฝีมือดีก็จะต้มเหล้าได้ใสเป็นตาตั๊กแตน ผู้เขียนเคยได้ลองชิมเหล้าข้าวโพดนี้แล้วบอกได้เลยว่าทั้งหอมหวานรสชาดสู้กับเหล้าฝรั่งได้เลย ส่วนความแรงนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเวลาที่ดื่มเข้าไปนั้นก็ทราบทันทีเลยว่าเหล้าได้เดินทางไปถึงส่วนไหนของทางเดินอาหารแล้วประกอบกับความหวานของเหล้านั้นทำให้ดื่มได้เรทื่อยๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เมาไปซะแล้ว ธรรมเนียมการนั่งในวงสุราจะนั่งตามผู้อาวุโส ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าจะนั่งทางด้านซ้ายมือของผู้ที่อาวุโสกว่า หากเราจะไปร่วมวงการร่ำสุรานี้ก็ต้องถามจากเขาก่อนว่าเราสามารถนั่งได้ตรงไปไหน ด้านหลังของวงเหล้าจะมีผู้ทำหน้าที่รินเหล้าหนึ่งคน จอกเหล้าสองจอก โดยจะเริ่มดื่มจากผู้อาวุโสที่หัวแถวก่อนแล้ววนไปทีละ สองจอกจนครบเก้ารอบ รอบสุดท้ายจะเป็นจอกใหญ่กับจอกเล็กเรียกว่าแม่วัวกับลูกวัว ทุกคนในวงต้องดื่มให้หมดเพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าบ้าน ถ้าใครดื่มไม่ไหวก็ต้องให้คนในครอบครัวมายืนข้างหลังคอยช่วยดื่ม

                    วันที่สาม(ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 1) เป็นวันที่จะไปดำหัวผู้เสียชีวิตไปแล้วที่หลุมศพ และถือเป็นวันสุดท้ายของปีใหม่ ไก่ที่ต้มไว้วันแรกต้องกินให้หมดวันนี้และดับธูปหือตะเกียงที่จุดไว้ตลอดปีใหม่

                    วันที่สี่เป็นวันที่ส่งผีกลับ ในตอนเช้าจะต้มไก่ใหม่ไว้บนโต๊ะ ผู้นำครอบครัวทำพิธีปล่อยผีกลับและบอกไว้ว่าถ้ามีอะไรจะเรียกผีนี้กลับมาช่วย ในหมู่บ้านชาวม้งบางหมู่บ้านจะมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านเรียกว่า ดงเซ้ง ซึ่งต้องดูแลให้ดี หากไม่เช่นน้นจะทำให้เกิดเหตุร้ายขึ้นได้ และในวันที่สี่นี้หมู่บ้านที่มีดงเซ้งก็จะเข้าไปทำความสะอาดและพิธีที่ดงเซ้งนี้เพื่อขอพรให้อยู่ดีมีสุขก็เป็นหลังจากที่ทำพิธีกรรมทั้งหมดที่เล่ามานี้ ก็มาถึงการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนานต่างๆของม้งที่มีมากมาย เช่น การตีลูกข่าง การยิงหน้าไม้ การหาบน้ำ การฝัดข้าว การโยนไข่ การประกวดแม่บ้านสมบูรณ์ การโยนลูกช่วงหรือประเพณีเกี้ยวสาวที่กล่าวไปข้างต้น แต่ที่เป็นไฮไลท์สุดก็ต้องเป็นกีฬาแข่งขันล้อเลื่อนไม้หรือโกคาร์ทชาวเขานั่นเอง




                   การแข่งขันล้อเลื่อนไม้หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Wooden Kart Racing ในปีนี้บริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดงเป็นผู้ที่เข้ามาการแข่งขัน โดยเริ่มจัดการแข่งขันขึ้นเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี ในปีนี้ได้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 14 ม.ค. พ.ศ. 2548

                  คุณจันทร์ศิริ วาทหงษ์ ผู้ประสานงานพัฒนาสาธารณสุข มูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า จากการดำรงชีวิตของชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่บนเขาบนดอยตามภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตด้วยการอาศัยวัตถุดิบจากป่า ไม่ว่าจะเป็นฟืน น้ำ หรือพืชผักต่างๆ เวลาจะทำการขนย้ายมาเก็บไว้ก็ต้องขึ้นลงเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรด้วยการเดิน แต่เมื่อขนส่งด้วยระยะทางไกลขึ้นทำให้ใช้เวลาในการขนส่งมากขึ้น เพื่อให้ได้ทรัพยากรมากขึ้นชาสวเขาจึงได้คิดแก้ปัญหาด้วยการหาเครื่องทุ่นแรงด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ในป่า ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดล้อเลื่อนเกิดขึ้น

                  จากเศษไม้ที่ทิ้งระเกะระกะได้ถูกนำมาดัดแปลงจนเป็นรูปร่างคล้านรถโกคาร์ท แต่ชิ้นส่วนทุกชิ้นล้วนทำขึ้นจากไม้ทั้งหมดแม้กระทั่งล้อ ตัวรถมีขนาด 1x2 เมตร มีเนื้อที่พอที่จะทำการขนย้ายได้อย่างสบายๆโดยเรียกง่ายๆว่าล้อเลื่อนไม้นั่นเอง จากเดิมที่ใช้แรงคนก็ทุ่นแรงไปได้มาก โดยการของที่หามาได้ใส่บนรถล้อเลื่อนไม้แล้วช่วยกันดึงและผลักจนถึงที่ซึ่งสะดวกและได้ประโยชน์ก็ตอนลงมาจากเขาที่สามารถปล่อยล้อเลื่อไม้ไหลลงมาได้อย่างสบายๆโดยมีคนบังคับเลี้ยวเพียงคนเดียวเท่านั้น ทำให้สามารถประหยัดพลังงานและเวลามากขึ้น

                   ล้อเลื่อนชาวเขานี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวเขามาหลายชั่วอายุคนแล้ว โดยเหล่าชาวเขาได้คิดค้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันล้อเลื่อนไม้นี้ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์และจักรยานยนต์ไปแล้ว เหลือแต่การละเล่นและแข่งขันกันเพื่อความสนุกสนาน จากการแข่งขันกันใหม่หมู่เพื่อนฝูงก็กลายมาเป็นการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้านและมีทีท่าว่าจะขยายไปเรื่อยๆ เนื่องจากในปีนี้จะเห็นได้ว่าได้มีผู้สมัครแข่งขันจากหลากหลายที่ เช่น ชาวเขาจากดอยเต่า ดอยสุเทพ ดอยปุย นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนักแสดงชื่อดังมาร่วมแข่งขันด้วย เช่น ลิฟท์, เจี๊ยบ ชวนชื่น, เอิร์ท ณัฐนันท์, อาจารย์ธัญธีรา ยิ้มอำนวย หัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิถีชีวิตและประเพณีปีใหม่ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งไว้ดังนี้




                 “ประเพณีปีใหม่ของชาวไทยของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง มีความหมายมากกว่าการจัดงานสนุกสนานรื่นเริง ขั้นตอนต่างๆสะท้อนในทัศนคติที่แฝงไว้ด้วยค่านิยม โดยการตอกย้ำอยู่ในขั้นตอนพิธีกรรมต่างๆ ของสังคมชาวม้งที่ปลูกฝังและสืบทอดกันต่อๆมาทั้งทางศีลธรรมและความกตัญญู โดยการจัดเตรียมเครื่องเซ่น, จุดตะเกียงหรือธูป พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการนับถือบรรพบุรุษ และตอกย้ำอีกครั้งโดยการทำพิธีดำหัวผู้ล่วงลับ นอกจากนี้การให้ผู้ให้ผู้นำแซ่สั่งสอนและการนั่งดื่มสุราตามลำดับผู้อาวุโส สิ่งเหล่านี้ก็ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการเคารพผู้อาวุโสด้วย นอกจากนี้งานปีใหม่ก็ยังสะท้อนถึงความเป็นเอกภาพ ความร่วมมือร่วมในกันในครอบครัว นั่นคือการแบ่งหน้าที่โดยผู้ชายจะเป็นผู้ยิงปืนรับปีใหม่ ผู้หญิงจะมีหน้าที่ตำข้าวหุงข้าว สิ่งเหล่านี้ได้แสดงว่าสังคมของชาวม้งยังคงเป็นสังคมที่เป็นเอกภาพมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และการมีหน้าที่ยิงปืนของผู้ชายนี้ก็ยังสะท้อนถึงสถานะของผู้ชายที่สูงกว่าผู้หญิง ในส่วนการดื่มเหล้าโดยการนั่งเรียงลำดับของผู้อาวุโสนั้นแป็นการแสดงถึงการนับถือซึ่งกันและกัน และเหล้าก็เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพอีกด้วย

                   ประเพณีของชาวม้งได้สะท้อนความผูกพันกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติการรักษาสิ่งแวดล้อมเห็นได้จากการดูแลต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และในส่วนของการละเล่นนั้นก็แฝงไว้ด้วยความสัมพันธ์ของสังคม เช่น การโยนลูกช่วงซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวพบปะเลือกคู่กันตามครรลองของวัฒนธรรม ประเพณีจึงมีความหมายและคุณค่าของการดำรงอยุ๋ของบุคคลและสังคมนั่นเอง

                   ล้อเลื่อนไม้สำหรับบรรทุกวัตถุดิบสำหรับดำรงชีวิตจากป่าหรือโกคาร์ทชาวเขานั้น จัดได้ว่าเป็นภูมิปัญญาในการปรับตัวสอดคล้องกับวิถีชีวิต แสดงให้เห็นถึงดูแลครอบครัวของฝ่ายชายซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำและเป็นผู้ไปหาเลี้ยงครอบครัว นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นถึงสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันอีกด้วย ล้อเลื่อนไม้จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนซึ่งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์กับธรรมชาติและมีขอบเขตจำกัดไม่สะสมมากเกินพอ และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอาศัยไม่แสวงหากำไร อีกทั้งการแข่งขันล้อเลื่อนไม้นี้ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กัน ความเท่าเทียมกันทางสังคมอีกด้วย”

                   อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่วันนี้การแข่งขันล้อเลื่อนไม่เพียงเป็นกีฬาที่สร้างความสัมพันธ์และอนุรักษ์วัฒนธรรมระหว่างชาวม้งได้เป็นอย่างดี ทั้งยังคงสร้างความสนุกสนานระหว่างชาวบ้านที่แข่งกับคนดูซึ่งเป็นชาวเขาในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่มาจากทั่วสารทิศอีกด้วย และการแข่งขันนี้เชื่อไหมว่าเป็นการแข่งขันที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วยเพราะการแข่งขันนี้ได้ลงข่าวในช่อง ESPN ซึ่งเป็นช่องข่าวกีฬาชื่อดังของโลกอีกด้วย หากใครสนใจจะไปเที่ยวงานปีใหม่ชาวม้งนั้นคงต้องดูปฏิทินกันล่วงหน้าก่อน เพราะเขากำหนดวันขึ้นปีใหม่กับแบบข้างขึ้นข้างแรมกันโดยจะอยู่ในช่วงราวเดือนธันวาคม-ต้นเดือนกุมพาพันธ์ของทุกปี ซึ่งก็สามารถสอบถามข้อมูลล่วงหน้าจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้